โซลาร์รูฟ
ในอดีต นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ พยายามศึกษาคุณสมบัติของแสง และ พยายามจำแนกว่า แสง มีคุณสมบัติเป็นคลื่น หรือ เป็นอนุภาคกันแน่.. โดยทั่วไป แสง มีคุณสมบัติ หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด ครบองค์ประกอบของความเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่.. ทว่า เมื่อแสงตกกระทบโลหะ กลับเกิดกระแสไฟฟ้าออกมา ..นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งข้อสมมุติฐานว่า แสง มีความเป็นอนุภาคอยู่ เนื่องการ ..การเกิดกระแสไฟฟ้านั้น ย่อมเกิดจาก การที่อิเล็กตรอนในอะตอมถูกผลักให้เคลื่อนที่บนตัวกลาง ซึ่งการที่อิเล็กตรอนจะถูกผลักได้นั้น ย่อมเกิดจาก อะไรสักอย่าง มากระทบมัน ยกตัวอย่างเช่น การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด ที่ยิงรังสี ประจุบวก ชนแผ่นทองคำ ทำให้อิเล็กตรอนกระเด็น กระทบฉากหลัง ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้จากการตกกระทบของตัวกระตุ้น ตกกระทบมัน .. และ จากตัวอย่าง ของการที่แดดส่องลงสู่พื้นผิวโลหะ แล้วเกิดกระแสไฟฟ้า จึงแสดงให้เห็นว่าแสงมีคุณสมบัติเป็นวัตถุ หรือ อนุภาค อย่างใดอย่างหนึ่ง .. แต่ก็ยังหาข้อสรุปกันไม่ลงตัว โดย แบ่งแยกนักวิทยาศาสตร์ออกเป็นสองฝ่าย ..ฝ่ายคิดว่าแสงเป็นคลื่น กับ ฝ่ายที่คิดว่าแสงเป็นอนุภาค
ไอร์สไตร์นักฟิสิกส์ เชื้อสายเยอรมัน จึงได้ออกมาอธิบายว่า แสง.. มีคุณสมบัติเป็นทั้งคลื่น และ เป็นทั้งอนุภาค ในเวลาเดียวกัน โดยเรียกอนุภาคของแสงนี้ว่า โฟตรอน ..เมื่อโฟตรอนเดินทางไปในตัวกลาง จะมีคุณสมบัติที่เป็นคลื่น แต่ เมื่อตกกระทบวัตถุ จึงทำให้อิเล็กตรอนหลุดลอด เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งในขณะนี้ แสงจึงเป็นอนุภาคโฟตรอน .. ไอร์สไตร์ เป็นนักฟิสิกส์คนแรก ที่สามารถอธิบายปรากฏการโฟโต้อิเล็กตริกส์ได้ทุกแง่มุม และ ในต่อมา เขาจึงได้รับรางวัลโนเบลจากการอธิบายปรากฎการณ์นี้ในที่สุด นับว่า เป็นโนเบล ผลงานแรกที่เขาได้รับรางวัล
จวบกระทั่งในปัจจุบัน โฟโต้อิเล็กตริกส์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับแพร่หลายในงานวิศวกรรม อาทิเช่น แสงเลเซอร์ เซ็นเซอร์ควบคุมต่างๆ กระทั่ง งานผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
โซลาร์เซลล์ เป็นรูปหนึ่งของ silica หรือ ผลึกทรายอย่างหนึ่ง.. การผลิตจะเริ่มต้นจาก การนำซิลิกา มาหลอมภายใต้แรงดันอุณหภูมิควบคุม จากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง แล้วอัดเป็นแท่ง.. ฝานให้เป็นแผ่นบางๆ จากนั้นจึงถูก dope ด้วย boron และ sulfur เป็นชั้นๆ เพื่อให้ ประจุบวกลบ แยกชั้นกันหลังจากถูกตกกระทบโดยแสง ..ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เซลล์ ในแง่ของแบบจำลองทางไฟฟ้า มีความคล้ายกันกับหลักการของเซลล์แบตเตอร์รี่ ต่างกันก็เพียงแต่ว่า แบตเตอร์รี่มีการกักเก็บประจุไว้อย่างนั้น แต่แผงโซลาร์เซลล์ออกแบบให้ปล่อยประจุทันทีโดยไม่มีการกักเก็บ
แผ่นโซลาร์เซลล์ ที่ถูกโด๊ปแล้ว จะถูกคาดเส้นบนแผงโดยโลหะสีเงิน เป็นเส้นขนาดเล็กน้อยกว่าครึ่งมิลลิเมตร แล้วคาดเส้นทับขนาดใหญ่โดยอลูมิเนียม เพื่อเป็นทางวิ่งของแสไฟฟ้า ..เมื่อมีแสงตกกระทบตัวแผง ก็จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามขั้วของโลหะ ดังนี้
โซลาร์รูฟ เป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดย ใช้แผงโซลาร์เซลล์ หรือ แผงโฟโต้เซลล์ ทำการติดตั้งบนหลังคาเพื่อรับแสงแดด …ซึ่งเป็นการทำให้พื้นที่ที่ไม่มีการใช้งานอย่างเช่น บนหลังคา ได้สามารถใช้ประโยชน์ นำมาวางแผงแล้วผลิตไฟฟ้าได้
ระบบโซลาร์รูฟ ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักๆ คือ แผงโซลาร์เซลล์ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ตู้ควบคุม หรือ ในบางระบบ อาจจะมีแบตเตอร์รี่ เข้ามาร่วมด้วย เพื่อใช้ในการเก็บพลังงานไว้ใช้ในช่วงกลางคืน หรือ ช่วงที่ไม่มีแดด ระบบ จะเริ่มที่ เมื่อเริ่มมีแสงจากขอบฟ้า กระแสไฟฟ้าจะวิ่งออกมาจากกลุ่มแผง เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ลงไปที่เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า หรือ อินเวอร์สเตอร์ โดยมีตู้คอนโทรลเป็นตัวควบคุม และ ป้องกัน ..กระแสตรงจากแผงจะถูกแปลงไปเป็นกระแสสลับ โดยจะมีมุมเฟส แรงดัน ตรงกับ สายเฟสที่เชื่อมโยงกับการไฟฟ้า ..แล้วเชื่อมต่อใช้งานได้ร่วมกัน
โซลาร์รูฟอีกระบบที่ไช้แบตเตอร์รี่ จะมีหลักการทำงานที่คล้ายกัน ต่างกันที่ว่ามีแบตเตอร์รี่เข้ามา และ มีเครื่องควบคุมการชาร์จ ไม่ว่าจะเป็น mppt หรือ mpw ก็จะต่อเข้ากับชุดตู้ควบคุม ป้องกัน ..มีการตั้งเวลาปิดเปิด หรือ มีการตั้งค่าให้สับเปลี่ยนระบบ ระหว่างการไฟฟ้า กับ ระบบโซลาร์รูฟ เมื่อมีการผลิตที่ไม่เพียงพอ
โซลาร์รูฟในปัจจุบัน มีทั้งแบบ ติดตั้งเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้เอง หรือ ใช้ลดค่าไฟ และ มีทั้งแบบเข้าโครงการโซลาร์พีวีรูฟท็อปของรัฐบาล ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน.. โดยปกติ ถ้าผลิตเพื่อใช้เอง จะเป็นการผลิตเสมือนขายที่ราคาหน่วยใช้ ปกติฐานหน่วยค่าไฟที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน จะอยู่ที่ 3.50บาทต่อหน่วย บวกแวท บวกเอฟที จะอยู่ราวๆ 4.50-5.0บาทต่อหน่วย ..ส่วนแบบเข้าโครงการรัฐ จะขายอยู่ที่ 6.85 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะเห็นได้ว่า การเข้าโครงการจะได้ราคาที่ดีกว่า.. แต่เป็นราคาคงที่ 25ปี ถ้ามองในแง่ของการลงทุน การขายที่ราคานี้จะทำให้มีการคุ้มทุนที่เร็ว ซึ่งระยะเวลาคุ้มทุนนี้ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุน ซึ่งจะอยู่ราวๆ 4-9ปี แล้วแต่เกรดอุปกรณ์ และ อัตราดอกเบี้ย (กรณีกู้ลงทุน) .. แต่ถ้ามองระยะยาว การผลิตที่ใช้เองจะให้ผลคุ้มค่ามากกว่า เนื่องจากอัตราค่าไฟ ลอยตัว มีการปรับเพิ่มเสมอ ..ในรอบ 10- 20 ปี จึงเป็นไปได้ว่า อัตราค่าไฟ น่าจะมากกว่า 6.85 บาทต่อหน่วย
ดังนั้น การผลิตเพื่อขนานเข้าระบบปกติ หรือ ระบบขายตามสัญญารัฐ จึงให้ผลที่น่าลงทุนในทั้ง 2 ทาง เพียงแต่.. ขนาดการใช้งานของในกรณีที่ ทำเพื่อใช้งานเองในระดับครัวเรือนนั้นมีความต้องการที่น้อย การออกแบบจึงเป็นระบบขนาดเล็กเพียงแค่ให้เพียงพอแก่การใช้งาน ..การออกแบบที่ให้กำลังผลิตเยอะๆ จนเกินความต้องการจึงไม่คุ้มค่า
การผลิตแบบใช้เองโดยทั่วไปจึงเหมาะสมอย่างมากกับระบบโรงงาน เนื่องจากมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก จึงออกแบบระบบได้ในขนาดที่ใหญ่ ต้นทุนต่ำลง ทำให้ได้ผลที่คุ้มค่า.. ส่วนแบบโควตาสัญญารัฐ จะต้องผูกพันสัญญา25 ปี มีระเบียบเข้ามาควบคุม และ มีข้อจำกัดเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องเป็นไปตามระเบียบ ..แต่ก็จะดีในแง่ของการลงทุนที่ต้องการให้มีการคืนทุนระยะสั้น เนื่องจากผลิตจำหน่ายบนค่าตอบแทนต่อหน่วยที่สูงกว่า
ศิริวัฎ หงษ์ไทย